ศึก โมโตจีพี ประกาศให้ทีมแข่งใช้ “เครื่องยนต์” และ “แอโร แฟริ่ง” เดิมของปี 2020 สำหรับการแข่งขันฤดูกาลหน้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายลดค่าใช้จ่าย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านการเงินของทุกทีม จากผลกระทบของ ไวรัสโคโรน่า
ฤดูกาล 2020 ของ โมโตจีพี ต้องยกเลิกสนามแรกที่ กาตาร์ และเลื่อนการแข่งขันรวมไปแล้วทั้งสิ้น 8 สนาม ขณะที่มาตราการเว้นระยะทางสังคมใหม่ของ เยอรมนี ดูเหมือนจะนำไปสู่การแข่งขันการแข่งขันรายการ เยอรมัน กรังด์ปรีซ์ ออกไปอีกสนาม จากกำหนดเดิมในวันที่ 19-21 มิถุนายนนี้
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ฝ่ายจัดการแข่งขัน โมโตจีพี อย่าง ดอร์น่า สปอร์ต ได้มอบเงิน 9 ล้านยูโร เพื่อมอบเป็นเงินทุนสำรองล่วงหน้า 3 เดือน ให้กับทีมอิสระในโมโตจีพี เช่นเดียวกับทีมในศึก โมโตทุ และ โมโตทรี ด้วย
สมาคมผู้ผลิตในศึก โมโตจีพี (The MotoGP manufacturers’ association : MSMA) ได้ประชึมกันเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อหาแนวทงสำหรับการเซฟงบประมาณของทีม โดยการลงมติรวมกัน “แช่แข็ง” การพัฒนาของทีมโรงงาน
โดยแนวคิดนี้ได้รับการลงมติเห็นชอบอย่างเป็นทางการจาก คณะกรรมการกรังด์ปรีซ์ โดยจะห้ามไม่ให้มีการพัฒนาสำหรับทุกค่ายผู้ผลิตในปี 2021 ได้แก่ “เครื่องยนต์” และ “แอโรแฟริ่ง” ที่จะต้องใช้สเป็คเดียวกับในปีนี้
ทั้งนี้ เมื่อฤดูกาล 2021 เริ่มต้นขึ้น กฎการพัฒนาปกติจะถูกนำมาใช้ นั่นหมายความว่าทีมโรงงานที่ไม่ได้รับการงดเว้นอย่าง ฮอนด้า, ยามาฮ่า, ดูคาติ และ ซูซูหิ จะไม่สามารถพัฒนาเครื่องยนต์ได้คลอดทั้งปี และจะอนุญาตให้มีการพัฒนา “แอโรแฟริ่ง” ได้เพียงครั้งเดียวในปีดังกล่าว
ขณะเดียวกัน ในที่ประชุมยีงมีการเสนอแนวคิดจาก ดูคาติ ให้นักบิดแต่ละคนใช้รถแข่งได้เพียง 1 คัน (จากเดิม 2 คัน) เพื่อลดต้นทุนของการพัฒนา ทว่าประเด็นนี้ถูกตีตกไปจากค่ายผู้ผลิตอีก 5 ราย
นอกจากนี้ รถแข่งในรุ่น โมโตทุ และ โมโตทรี จะถูกแช่แข็งไปจนถึงสิ้นฤดูกาล 2021