“เดอะด็อกเตอร์” วาเลนติโน รอสซี่ ตำนานนักบิดวัย 42 ปี ออกโรงแสดงความเห็นว่า “หลักอากาศพลศาสตร์” ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของ โมโตจีพี ยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะ “วิงเล็ต” ที่เข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านรูปลักษณ์ และรูปแบบด้านเทคนิคของรถแข่งอย่างมาก
รอสซี่ ผ่านยุคสมัยของการแข่งขันจักรยานยนต์ทางเรียบชิงแชมป์โลกมาอย่างโชกโชน โดยเฉพาะในพรีเมียร์คลาสนับตั้งแต่เครื่อง 500cc, 990cc, 800cc และ 1000cc ทั้งรูปแบบของ 2 จังหวะ และ 4 จังหวะ รวมถึง วี4, 4 สูบเรียง และ V5 จากการลงบิดให้กับ ฮอนด้า, ยามาฮ่า และ ดูคาติ
นอกจากนี้ เขายังผ่านทั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์จากแต่ละทีมโรงงาน รวมถึงอิเล็กทรอนิกส์กลาง, ยางทั้ง มิชลิน และ บริดจ์สโตน นอกจากนี้ยังมี “วิงเล็ต” และระบบควบคุมความสูงต่ำของรถแข่ง ตลอดการบิดในพรีเมียร์คลาส 22 ฤดูกาล
epa07647500 Spanish MotoGP rider Marc Marquez (L) of the Repsol Honda Team and Italian rider Valentino Rossi (R) of the Monster Energy Yamaha MotoGP team in action during the free practice session of the Motorcycling Grand Prix of Catalunya at the Circuit de Barcelona-Catalunya in Montmelo, near Barcelona, Spain, 14 June 2019. The Motorcycling Grand Prix of Catalunya will take place on 16 June 2019. EPA/ENRIC FONTCUBERTA
ในแต่ละช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงด้านเทคนิค จำเป็นต้องมีการปรับรูปแบบการขับขี่ให้สอดคล้องกัน ขณะที่ “วิงเล็ต” นับเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงด้านรูปลักษณ์ที่ชัดเจนที่สุดของรถแข่ง โมโตจีพี ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
โดย รอสซี่ ยืนยันว่า “วิงเล็ต” ยังคงมีพื้นฐานที่เป็นเสน่ห์ และมีผลต่อการแข่งขันน้อยกว่า “ยาง” และ “เบรก” ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อการแข่งขันในยุค “โมเดิร์น โมโตจีพี” โดยเฉพาะด้านเทคนิคการขับขี่
“สำหรับผมแล้ว สไตล์การขับขี่มาเปลี่ยนไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะท่วงท่าและตำแหน่งร่างกายบนรถแข่ง และการที่นักบิดแต่ละคนโน้มตัวไปข้างหน้าเยอะมากด้วยหัวไหล่ และข้อศอก”
“ส่วนตัวผมวิธีการเข้าโค้ง และไลน์ก็เปลี่ยนไปอย่างมาก เพราะตอนนี้ด้วย รถแข่ง, ยาง และเบรก ที่เรามีในปัจจุบัน คุณสามารถเข้าโค้งได้เร็วกว่าเมื่อก่อนมาก ดังนั้นสไตล์การบิดจึงเปลี่ยนไปจากเดิมเล็กน้อย หากเทียบกับรอบ 5 ปีที่ผ่านมา”
“แต่ผมก็ไม่รู้ว่าเปลี่ยนไปมากแค่ไหน และมันมีความสัมพันธ์กับระบบแอโรไดนามิกมากน้อยเพียงใด”
“ท้ายที่สุดแล้ว แอโรไดนามิก จะช่วยให้คุณมีอัตราเร่งที่ดีขึ้น ดังนั้นมันทำให้คุณไปถึงโค้งได้เร็วกว่าเดิม นั่นเท่ากับว่าคุณจะสามารถเบรกได้หนักกว่าเมื่อก่อน ขณะเดียวกันคุณก็สามารถทิ้งน้ำหนักที่ด้านหน้าได้มากกว่าเดิม”
“การที่เบรกได้หนักกว่าเดิม จะทำให้การยกรถเปลี่ยนทิศทางนั้นมีน้ำหนักมากขึ้น ดังนั้นคุณจะต้องมีความแข็งแรงมากกว่าเดิม โดยปกติแล้วร่างกายจะรับบทหนักขึ้น”
“สิ่งเหล่านี้คือข้อแตกต่างที่เกิดขึ้นจากหลักอากาศพลศาสตร์ มันมากกว่าเรื่องสไตล์การขับขี่”
ขณะที่นักบิดหลายๆ คน มีการใช้ร่างกายมาช่วยในร่างสไตล์การขับขี่เยอะมาก, รอสซี่ กลับเชื่อว่าสไตล์ดั้งเดิมที่มีการนำมาใช้มากขึ้น ก็ดูจะทำออกมาได้ดีเช่นกัน
“ทุกๆ คนมีสไตล์ของตัวเอง และผมเห็นนักบิดหลายคนมากที่เร็วสุดๆ แม้ว่าพวกเขาจะมีตำแหน่งที่ปกติเมื่ออยู่บนรถแข่ง อย่างเช่น แจ็ค มิลเลอร์ หรือ ฟรานโก มอร์บิเดลลี” รอสซี่ กล่าว
แชมป์โลก 9 สมัย ยอมรับว่าเขาเองไม่ค่อยอุ่นใจนักกับ “ยางหลัง” ที่มีโครงสร้าง “นุ่ม” กว่าเมื่อก่อน ซึ่งใช้ในโมโตจีพียุคปัจจุบัน ขณะที่เขาอยู่ระหว่างการเตรียมประกาศการตัดสินใจอนาคต สำหรับ โมโตจีพี 2022 ในช่วงสัปดาห์หน้า