Motorsportlives

[F1 Analysis] วิเคราะห์ 6 จุดเทียบความต่างรถแข่ง F1 2022 และ 2021

แน่นอนว่าการเปิดภาพ “ขนาดจริง” ของรถแข่งฟอร์มูล่าวัน 2022 ที่แทบจะกดปุ่ม “รีเซ็ต” การออกแบบใหม่ทั้งหมดออกมาที่ ซิลเวอร์สโตนนั้น ได้สร้างเสียงวิจารณ์อย่างหนักจากทั้งนักขับและผู้เชี่ยวชาญ แต่ “เอฟวัน” ก็เชื่อว่าดีไซน์ใหม่นี้จะนำไปสู่ “ยุคใหม่” ของรถสูตรหนึ่งที่มีความตื่นเต้นมากขึ้น ส่วนรายละเอียดของรถแข่งปีหน้ากับปีนี้จะต่างกันแค่ไหน มาเจาะกันไปทีละจุด

Front wing (ปีกหน้า)

สิ่งแรกที่แตกต่างซึ่งเห็นได้ชัดที่สุดคือ Front wing โดย “ปีกหน้า” ของรถแข่งปี 2022 มีความแตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง นับตั้งแต่การจัดตำแหน่งองค์ประกอบ ไปจนถึงรูปร่างของแผ่นปิด (endplates)

รถแข่งเวอร์ชั่นปี 2022 มีการออกแบบให้ “เป็นกลาง-เรียบง่าย” และชัดเจนมากกว่าของรุ่นปัจจุบันที่มี “ความซับซ้อน” อย่างมาก ซึ่งหมายความว่าจะมี “การตอบสนอง” ต่อ “แอโรไดนามิก” น้อยกว่าของเดิม เมื่อนักขับเข้าใกล้คู่แข่งด้านหลัง และจะทำให้สามารถควบคุมบาลานซ์ของรถได้ดีขึ้นจาก “เดอร์ตี้ แอร์”

ต้องจำให้ขึ้นใจว่า “อากาศสกปรก” หรือ ‘dirty air’ เป็นการสร้างกระแสลมรบกวนอย่างหนักออกมาจากรถแข่ง เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ “นักขับ” ต้องพยายามขับจี้ติดท้ายคันหน้าอย่างใกล้ชิด และนี่จึงเป็นงานที่ท้าทาย “ดีไซเนอร์” อย่างมาก เพื่อให้มั่นใจว่าการแข่งขันจะเข้มข้นขึ้นในปีหน้า

อีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้ “ความตั้งใจ” นี้เป็นจริงได้คือการถอด ‘Y250 vortex’ เป็นเชื่อเรียกของ “ชิ้นส่วนแอโรไดนามิค” ที่ปีกหน้าของรถแข่งรุ่นปัจจุบันในส่วนปลายทั้งสองข้าง ทำหน้าที่ “สร้างกระแสวน” ของอากาศ ซึ่งไปรบกวนรถคันหลังอย่างมาก

การถอดชิ้นส่วนนี้ออกไป (Y250 vortex) ถือเป็น “จุดเปลี่ยน” สำคัญที่ส่งผลอย่างมากต่อ “แอโรไดนามิก” โดยเฉพาะการสร้าง “เดอร์ตี้ แอร์” ด้วย “กระแสวนของอากาศ” ที่จะหมดไปในปี 2022

ตัวอย่างการทำงานของ Y250 Vortex ลูกศรสีแดงจำลองการไหลเวียนของอากาศ ก่อนให้เกิด Dirty Air

ล้อและยาง

นี่คือจุดที่สังเกตุเห็นได้ง่ายที่สุดจุดหนึ่งของรถแข่งปี 2022 หากแฟนๆ ฟอร์มูล่าวันจำได้รถแข่งนั้นใช้ล้อขนาด 13 นิ้ว แต่สิ่งนี้จะถูกเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงในปี 2022 ที่เปลี่ยนไปใช้ล้อขนาด 18 นิ้ว และ “ยางแบบแก้มเตี้ย” ให้รถแข่งดูทันสมัยและดุดันมากขึ้น

ทว่า “ยางใหม่” ก็ถูกออกแบบมาไม่ให้ “ทนทาน” กับความร้อนได้มากเกินไป เหนือสิ่งอื่นใด แฟนๆ จะได้เห็นการเสียหายของยางมากขึ้นจากเดิม หากทีมแข่งเลือกใช้ยางนานเกินไป ซึ่งนั่นหมายความว่าเป็นการบังคับให้ทีมมีการเข้าพิตมากขึ้น

ความแตกต่างอีกอย่างคือ “ฝาครอบล้อ” ที่เคยใช้ใน ฟอร์มูล่าวัน มาก่อนหน้านี้ แต่มีความจำเป็นที่ต้องนำกลับมาใช้อีกครั้ง เพื่อรักษา “กระแสลมสะอาด” และป้องกัน “เดอร์ตี้แอร์”

รวมถึงจำกัดสิ่งที่ทีมแข่งสามารถทำได้รอบๆ ยาง เพื่อสร้าง “อากาศพลศาสตร์” ด้วยการเปิดตัว “วิงเล็ต” เหนือล้อหน้า (อุปกรณ์ควบคุมการกระตุ้นล้อ, อาจนำไปสู่ชื่ออื่น) ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยรักษาลมสะอาดไปในตัว

ปีกหลัง (Rear wing)

เมื่อพูดถึง “ปีกหลัง” จะมีรูปร่างคล้ายคลึงกันเล็กน้อยสำหรับรถแข่งปี 2021 และ 2022 แต่ด้านเทคนิคจริงๆ แล้วยังคงไว้ซึ่ง “แผ่นพับ” ที่สามารถเปิดปิดเพื่อสร้าง DRS (Drag Reduction System) เอาไว้ แต่มีการปรับตำแหน่งเล็กน้อยตามดีไซน์ เรียกได้ว่านี่คือหนึ่งจุดที่ “เหมือนกัน” ที่สุดจุดเดียวระหว่างรถแข่งในปี 2021 และ 2022

หากมองจากสายตา “ดีไซน์” ที่เปลี่ยนชัดเจน และจุดที่ต่างกันมากที่สุดของปีกหลังคือ “ปลายแบบม้วนโค้ง” แทนที่ในส่วนของแผ่นปิดแบบตรงในของเดิม และส่วนประกอบด้านล่างเพิ่มเติมเข้ามา

การออกแบบใหม่นี้เป็นความตั้งใจให้ “ดึง” กระแสลมจาก “แอโรไดนามิค” ออกจากตัวรถ ให้อยู่บนหรือล่าง “ตัวรถ” มากกว่าจะไหลเวียนผ่านตัวรถ ซึ่งนั่นเป็นปัจจัยทำให้นักขับในยุคปัจจุบันทำงานได้ยาก

พื้นรถ (Floor)

อาจจะดูแปลกตาไปเสียหน่อย ถ้าเราเปรียบเทียบ “ฟลอร์” หรือ “พื้นรถ” จากมุมสูง แต่จากมุมมองนี้คุณจะเห็น “ความแตกต่าง” อย่างชัดเจนระหว่าง “ฟลอร์” ของรถแข่งในปี 2021 และ 2022 ส่วนมุมล่างที่มองไม่เห็นคือ “ฟลอร์” ของรถแข่งในปี 2022 จะมีอุโมงก์ใต้ตัวรถเป็นรูปทรงเต็มตัว แทนที่จะเป็นขั้นบันไดในแบบปัจจุบัน

การเปลี่ยนแปลงรูปร่างพื้นรถ จะช่วยให้ทีมสร้างแรงกด หรือ “ดาวน์ฟอร์ซ” จำนวนมากผ่าน “กราวน์ เอฟเฟ็คต์” ซึ่งเป็นแรงกดที่จะได้รับผลกระทบน้อยลงมาก เมื่อขับตามรถคันอื่น ขณะเดียวกันมันก็สร้าง “กระแสลมรบกวน” คันอื่นๆ น้อยลงด้วยเช่นกัน

ตัวถังรถแข่ง (Bodywork)

เมื่อเทียบจากรถแข่งทั้ง 2 คันในภาพ จะเห็นว่าการออกแบบตัวถังของรถแข่งในปี 2022 มีความ “สะอาด” และชัดเจนกว่ามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณด้านข้าง “ค็อกพิต” หรือที่นั่งนักขับซึ่งเดิมมี “บาร์จบอร์ด” หรือ “ชิ้นส่วนแอโรไดนามิก” ต่างๆ จะถูกถอดออกไปในปี 2022

และเราต้องจับตาดูการกลับมาของ “ปล่องระบายความร้อน” บนตัวถึงรถ ซึ่งถูกห้ามใช้นับตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา แต่ได้รับอนุญาตให้นำมาใช้อีกครั้งในปี 2022 และจะเป็นพื้นที่หลักด้าน “อิสระภาพ” ของทีมในการสร้างประโยชน์จาก “แอโรไดนามิค” มากที่สุดนั่นเอง

“ปล่องระบายความร้อน” บนตัวถังรถ ซึ่งถูกห้ามใช้นับตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา แต่ได้รับอนุญาตให้นำมาใช้อีกครั้งในปี 2022

น้ำหนัก (Weight)

“น้ำหนัก” ของตัวรถน่าจะไม่ใช่สิ่งที่สามารถจิตนาการได้จากภาพ แต่จากข้อมูลด้าน “เทคนิค” แล้วรถแข่งในปี 2022 จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมา 5% จาด 752 กก. เป็น 790 กก.

ซึ่งโดยรวมแล้วน้ำหนักที่ได้นั้นจะมาจากทั้ง 4 ล้อที่มีดีไซน์เปลี่ยนไป ทว่า “ยางใหม่” ก็ถูกออกแบบมาไม่ให้ “ทนทาน” กับความร้อนได้มากเกินไป เหนือสิ่งอื่นใด แฟนๆ จะได้เห็นการเสียหายของยางมากขึ้นจากเดิม หากทีมแข่งเลือกใช้ยางนานเกินไป ซึ่งนั่นหมายความว่าเป็นการบังคับให้ทีมมีการเข้าพิตมากขึ้น

ทั้งนี้ ในปัจจุบัน “ปัจจัย” ต่างๆ ที่ส่งผลต่อน้ำหนักของตัวรถแข่งจะมาจาก “มาตรการ” หรืออุปกรณ์ด้านความปลอดภายที่เพิ่มขึ้น โดยมีการทดสอบการชน (Crashed Test) เพิ่มขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่านักขับจะได้รับการปกป้องที่ดีเพียงพอจากการเกิดอุบัติเหตุ

Exit mobile version