ฟาบิโอ กวาร์ตาราโร แชมป์โลก โมโตจีพี คนปัจจุบันจาก มอนสเตอร์ ยามาฮ่า ออกโรงยอมรับว่าไม่สามารถ “คาดหวัง” สูงเกินไปกับพละกำลังเครื่องยนต์ของรถแข่ง M1 ในปี 2022 หลังลงทดสอบวันแรกที่ เซปังฯ ชี้ “ไม่เปลี่ยนจากเดิมนัก”
การขาด “ความเร็วสูงสุด” (Top Speed) ถือเป็นจุดอ่อนที่ชัดเจนที่สุดของ ยามาฮ่า ในศึก โมโตจีพี โดยปัญหาดังกล่าวก็ยังคงอยู่ในตัวรถแข่งต้นแบบ M1 2022 จากการทดสอบที่ เฆเรซ เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา
ตอนนั้น กวาร์ตาราโร ยอมรับว่า “รถแข่ง M1 ไม่ได้มีการพัฒนาจากเดิมมากนัก” และกล่าวหลังจบการทดสอบวันแรกที่ เซปังฯ (เมื่อวานนี้) ว่า “มันไม่มีอะไรที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง”
ยามาฮ่า ยังคงเจอปัญหาหาการสร้างความเร็วทางตรงเช่นเคย หากเทียบกับ ดูคาติ ที่เร็วถึง 336.4 กม./ชม. ขณะที่ กวาร์ตาราโร ยอมรับว่าความเร็วสูงสุดที่เขาทำได้ 332.3 กม./ชม. ของเขา “ไม่ใช่ความเร็วที่แท้จริง” เพราะเป็นการเบรกหลักโซนดักความเร็วจึงได้ตัวเลขนั้นมา ส่วนทีมเมทอย่าง ฟรานโก้ มอร์บิเดลลี ทำความเร็วสูงสุดที่ 325.3 กม./ชม.
วีดีโอที่เกี่ยวข้อง 👇👇👇
มัสซิโม เมเรกัลลี ผู้จัดการทีม มอนสเตอร์ ยามาฮ่า ยอมรับว่า รถแข่ง ยามาฮ่า M1 2022 จะไม่ได้เปลี่ยนแปลงทั้งหมด (ปฏิวัติ) อย่างสิ้นเชิง เพราะนั่นไม่ใช่ “ปรัชญา” ของบริษัท
ขณะเดียวกัน ยังปฏิเสธถึงการแสดงออกด้าน “ความผิดหวัง” ของ กวาร์ตาราโร เกี่ยวกับความคืบหน้าเพียงเล็กน้อยของการพัฒนารถแข่ง M1 ในปีนี้ ซึ่ง เมเรกัลลี กล่าวต่อว่าทีมได้มีการ “ชดเชย” การขาดดุล “แรงม้า” ด้วยวิธีอื่นๆ ตามแนวทางของ ยามาฮ่า
“สมมตินะครับว่าผมต้องการ ‘แรงม้า’ มากกว่านี้จริงๆ แต่ท้ายที่สุดเราไม่สามารถรีดมันมาได้จากเครื่องยนต์ใหม่” นักบิดเฟรนช์ เกริ่น
“แต่เราจำเป็นจะต้องความเร็ว และอย่าไปคิดอะไรมากกับเรื่องนี้ (Top Speed)”
“ถ้าเรามีแรงม้าเพิ่มขึ้นมันจะดีขึ้นกว่าเดิมแน่นอน แต่เมื่อมันไม่มี ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะไปบอกว่ารถแข่งของเราไม่มีพละกำลัง”
“ถ้าคุณไม่มีพละกำลังมากพอ (หากเทียบกับค่ายอื่น) ก็แค่ต้องพยายามและปรับตัวเองเหมือนกับที่ผมทำมันที่ผ่านมา”
“ดังนั้นหากเราต้องปรับตัว ก็จำเป็นต้องทำเพื่อให้มีความเร็วต่อรอบที่ดี”
กวาร์ตาราโร ยังอธิบายอีกว่าเขาจำเป็นต้องปรับปรุงวิธีการขี่ของตัวเองในสนามเซปังฯ เพราะยังมีความเร็วในโค้งไม่มากพอ ซึ่งด้วยเหตุผลนี้จึงยังไม่ได้ใช้จุดแข็งของ M1 ให้มากพอ แถมยังเบรกหนักเกินไปด้วย
“ผมแฮปปี้กับ เพซ (ขีดความเร็ว) นี้ เพราะภายใต้การหาเวลาต่อรอบ (Time Attack) ผมอาจโชคไม่ดีนัก เนื่องจากใช้ยางมีเดียมไปกว่า 26 รอบ” กวาร์ตาราโร กล่าวเสริม
“และหลังจาก 26 รอบกับยางมีเดียม ผมได้ขยับไปใช้บยางซอฟท์ใหม่ แต่ก็ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากมันมากนักในการทำ ฟลายอิ้ง แล็ป”
“ในวันอาทิตย์ (วันที่ 2 ของการเทสต์) เราจะลองมันอีกครั้ง”
“แต่โดยรวมและผมจำเป็นต้องปรับปรุงวิธรการขี่ของตัวเอง เพราะหลังพักไปกว่า 1-2 เดือน รู้สึกว่ายังขาดความเร็วในโค้งอยู่เยอะมาก และนั่นคือจุดแข็งของรถแข่งคันนี้”
วีดีโอที่เกี่ยวข้อง 👇👇👇