Motorsportlives

[Analysis] เจาะลึก “ซูซูกิ” อัพรถแข่งทั้งคัน “ม้ามืด” โมโตจีพี 2022

ในปี 2021 ซูซูกิ ล้มเหลวกับการป้องกันแชมป์โลกหลังทำได้ในปี 2020 จากผลงานของ โจอัน เมียร์ ซึ่งเป็นผลจากการ “อัพเกรด” รถแข่ง GSX-RR เพียงเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า นั่นทำให้พวกเขาไม่สามารถสร้างความแตกต่างที่โดดเด่นได้ เนื่องจากคู่แข่งมีการยกระดับขึ้นอย่างมาก

ทว่าในปี 2022 ดูเหมือน ซูซูกิ จะค้นพบแนวทางใหม่ในการยกระดับรถแข่ง GSX-RR ใหม่ จากการอัพเกรดใหม่เกือบทั้งคัน ซึ่งทำให้พวกเขาถูกยกให้เป็นอีกหนึ่งผู้ท้าชิงใน โมโตจีพี 2022

แม้ว่าฤดูกาล 2021 จะไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ แต่ ซูซูกิ ก็ไม่ได้โดนคู่แข่งทั้งห่างมากนักในการลุ้นแชมป์ตลอดทั้งปี… นั่นทำให้ดูเหมือนว่ารถแข่งของ ซูซูกิ ในปี 2022 จะมีความคล้ายคลึงกับในปีที่ผ่านมา…

แต่อย่าปล่อยให้ภาพภายนอกหลอกคุณได้

แล้ว ซูซูกิ มีอะไรใหม่ครับ มาดูกัน…

• เครื่องยนต์ใหม่ (New Engine)
• แชสซีส์อัพเดตใหม่ (Chassis pdates)
• การเปลี่ยนแปลงอิเล็กทรอนิกส์ครั้งใหญ่ (Big electronic changes)
• สวิงอาร์มใหม่ (New swingarm)
• อัพเดต แอโร แพ็คเกจ (Aero updates)

รถแข่ง GSX-RR ดูเหมือนจะมีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด หากเทียบกับฤดูกาลที่ผ่านมาอย่างไม่ต้องสงสัย โดยเฉพาะ “เครื่องยนต์ใหม่” ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุด

[MotoGP Talks] วิเคราะห์รถแข่ง "ซูซูกิ" หมกของใหม่เต็มคัน ม้ามืดตัวจริง โมโตจีพี 2022

ซูซูกิ ไล่ล่าพละกำลังเครื่องยนต์ที่มากขึ้นมาตลอด และนั่นคือสิ่งที่พวกเขาค้นพบในปี 2022 กับเครื่องยนต์ใหม่ ซึ่งทำให้พัฒนาแบบก้าวกระโดดอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเฉพาะความเร็วที่ทำได้ในการทดสอบทั้งที่ เซปังฯ และ มันดาลิกา ซึ่งตอนนี้เห็นได้ชัดว่า GSX-RR สามารถไล่ฟัดกับรถแข่งเครื่องยนต์ V4 บางคันได้แล้ว

ภายใต้การไล่ตามพละกำลังที่มากขึ้น ซูซูกิ ก็ต้องรักษาคุณสมบัติในความราบรื่นของเครื่องยนต์เอาไว้ด้วย โดยเฉพาะจุดเด่นในด้านการเป็นมิตรกับนักบิดซึ่งเป็น “กุญแจสำคัญ” ของพวกเขา เพราะหากทำไม่ได้ “เครื่องยนต์ใหม่เอี่ยมทั้งหมด” ที่มีกำลังมากขึ้นจะไร้ความหมายทันที

ระหว่างการทดสอบ “พรีซีซั่นเทสต์” ทั้ง เมียร์ และทีมเมทอย่าง อเล็กซ์ รินส์ ได้ทดลองการขับขี่ในรูปแบบต่างๆ เรามักจะได้ยินเสมอว่าพวกเขา “ตระหนัก” ถึงการทำงานด้าน “อิเล็กทรอนิกส์” เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการ “รีดพละกำลังเครื่องนต์เพิ่มขึ้น”

แน่นอนว่า “การพูดคุยถึง อิเล็กทรอนิกส์” ถูกหยิบยกมาหารือในพิตของ “ซูซูกิ” มาแล้วระยะหนึ่ง หลังจากมีการทดสอบเครื่องยนต์ใหม่มานับตั้งแต่ปีที่ผ่านมา เพื่อการปรับปรุงคุณสมบัติของรถแข่ง

สิ่งที่เรารู้จัก ซูซูกิ ดีก็คือ… GSX-RR ของพวกเขามีคุณสมบัติในการเขาโค้งที่ยอดเยี่ยม แต่เป็นรองรถแข่งเครื่องยนต์ V4 ด้านพละกำลัง ดังนั้น นักบิดซูซูกิ จึงต้องทำงานอย่างหนักและเข้าโค้งหนักๆ ออกจากโค้งเพื่อไม่ให้เสียเปรียบพื้นที่ทางตรงมากเกินไป ซึ่งทำให้ “ยางสึกหรอ” เกินความจำเป็น

ดังนั้น การปรับปรุง “ด้านอิเล็กทรอนิกส์” จึงถือเป็นงานสำคัญที่พวกเขาศึกษาอย่างหนัก เพื่อช่วยลดความเสียเปรียบในเรื่องนี้ และในทางกลับกันมันก็ไปเพิ่มจุดแข็งที่ไปทำงานร่วมกับ “เครื่องยนต์ใหม่” สำหรับการเร่งสปีดในช่วงทางตรงอีกด้วย

นอกจากนี้ ซูซูกิ ยังทดลอง “แอโร แพ็คเกจ” ใหม่หลายอย่างในช่วง พรีซีซั่น เทสต์ และดูเหมือนว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรนักในสนามแรกที่ กาตาร์

นี่คือ “แอโร แฟริ่ง” ชิ้นแรกที่คาดว่าจะอยู่บนรถแข่งของ ซูซูกิ เมื่อเดินทางถึง กาตาร์ ซึ่งเป็นสนามแรกของปี จะสังเกตุได้ว่าชิ้นส่วนด้านบนและล่างมีระยะห่างกันมากขึ้น รวมถึงส่วนประกอบด้านบนที่ตัดกับแฟริ่งด้านหน้านั้น ถูกปรับให้ต่ำลงเล็กน้อย

ขณะเดียวกัน หากมองที่ปีกด้านขวาและซ้าย จะเห็นว่ามีส่วนที่งอกมาจากด้านหลังเล็กน้อย “แอโรไดนามิค แพ็คเกจ” นี้มีความคลายคลึงกับของปี 2019 ที่ ฮอนด้า ใช้ในปีนั้นมาก

แต่ดูเหมือนว่า “แอโรแพ็คเกจ” นั้นจะไม่ค่อยได้ผล เพราะถูกส่งลงทดสอบที่ เซปัง และ มันดาลิกา เพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น

และนี่คือ “แอโรแพ็คเกจ” แบบที่ 2 ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเวอร์ชั่น “ไฟนอล” จาก ซูซูกิ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างชัดเจนหากมองด้วยสายตา

เป็นอีกครั้งที่เราได้เห็นอะไรบางอย่างซ่อนอยู่ใน “แฟริ่งหน้า” มีส่วนเว้าเล็กๆ ส่วนปลาย นอกจากนี้ ยังมี “ส่วนปิด” ที่ปลายของ “วิงเล็ต” งุ้มลงด้านล่างเล็กน้อย ซึ่งแตกต่างจากทุกสิ่งที่เคยเห็นมา โดยตอนนี้ยังไม่มีคำอธิบายคุณสมบัติของ “วิงเล็ต” นี้จากผู้เชี่ยวชาญ

นอกจากนี้ ซูซูกิ ยังมีการทดสอบและปรับปรุง “แชสซีส์” บางส่วนใน พรีซีซั่นเทสต์ และมีเพียง แชสซีส์ แบบเดียวเท่านั้นที่เคยเห็น แต่ดูเหมือนว่าทั้ง เมียร์ และ รินส์ จะมีความแข็งแกร่งมาก

มันคือ แชสซีส์ ที่เชื่อมด้วย “คาร์บอน” แบบเดียวกับที่เห็นครั้งแรกใน มิซาโน ปีที่ผ่านมา แต่ ซูซูกิ ก็มีการอัพเดตอย่างอื่นด้วย ซึ่งไม่สามารถสังเกตุได้จากสายตาหากมองแค่ภายนอก เนื่องจากมี แฟริ่ง ครอบอยู่

สิ่งที่น่ากังวลที่สุดคือ ซูซูกิ มีรถแข่งเพียง 2 คัน ซึ่งถือเป็นจุดอ่อนในการเก็บข้อมูลสำหรับการพัฒนา แม้นักบิดทั้ง 2 คนจะสร้างผลงานที่ดีในการทดสอบก็ตาม

ด้วยแรงม้าที่เพิ่มขึ่น และการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อหาวิธีเพิ่มจุดแข็ง และลดจุดอ่อนผ่านระบบอิเล็กทรกนิกส์ ทำให้รถแข่งซูซูกิกลายเป็น “ม้าศึก” ที่น่ากลัวอีกคันหนึ่งในปี 2022

Exit mobile version