“ลิเบอร์ตี้ มีเดีย” ประกาศเข้าซื้อกิจการ โมโตจีพี อย่างเป็นทางการ โดย ดอร์น่า สปอร์ต ภายใต้การดูแลของ คาร์เมโล เอซเปเลต้า จะยังคงเป็นผู้ดำเนินการการแข่งขันเชิงพาณิชย์ และบริหารด้านต่างๆ เช่นเคย
การยืนยันว่าเข้าเทคโอเวอร์กิจการ “โมโตจีพี” ครั้งนี้ จะทำให้สุดยอดมอเตอร์สปอร์ตของโลกทั้งสองรายการของฝั่ง 4 ล้อ และ 2 ล้อ ตกอยู่ภายใต้ “เจ้าของเดียวกัน” โดยมีมูลค่าซื้อขาย 4 พันล้านยูโร
“ลิเบอร์ตี้ มีเดีย” บริษัทผู้ให้บริการความบันเทิงสัญชาติอเมริกัน เข้าเป็นเจ้าของกิจการ “ฟอร์มูล่าวัน” นับตั้งแต่ปี 2016 จะเข้าครอบครอง “ดอร์น่า สปอร์ต” ซึ่งเป็นเจ้าของ โมโตจีพี นับตั้งแต่ปี 1992 รวมถึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เวิลด์ ซูเปอร์ไบค์ แชมเปี้ยนชิพ และ โมโตอี เวิลด์ คัพ ด้วยข้อตกลงมูลค่า 4.2 พันล้านยูโร
“ลิเบอร์ตี้ มีเดีย” จะเข้าถือหุ้น โมโตจีพี 86% ขณะที่ “ดอร์น่า สปอร์ต” ในฐานะผู้บริหารการแข่งขัน “โมโตจีพี” นั้นจะยังคงมีส่วนแบ่งหุ้นราว 14% ของธุรกิจนี้
การพิจารณาเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ คาดว่าจะประกอบด้วยเงินสดราว 65% รวมถึงหุ้น 21% ที่แปรผันมาจากหุ้นสามัญของ ซีรีส์ ซี ลิเบอร์ตี้ ฟอร์มูล่าวัน และอีก 14% ยังคงเป็นสุดส่วนของฝ่ายบริหาร โมโตจีพี นั่นเอง
“เรารู้สึกตื่นเต้นที่ขยายชื่อเสียงและผลงานในด้านการกีฬาที่มีการถ่ายทอดสด และความบันเทิงชั้นนำของโลก ด้วยการเข้าซื้อกิจการ โมโตจีพี” เกรก เมฟเฟย์ ประธานและซีอีโอ ของ ลิเบอร์ตี้ มีเดีย กล่าว
“โมโตจีพี เป็นลีกกีฬาระดับโลกที่มีฐานแฟนที่ภักดี และมีแพสชั่นสูง การขับเคี่ยวในสนนามที่น่าดึงดูด และมีศักยภาพทางการเงินที่มีอัตราการสร้างรายได้สูง”
“คาร์เมโล และทีมบริหารของเขา ได้สร้างปรากฏการณ์ทางกีฬาที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเราสามารถขยายความนิยมไปสู่ผู้ชมทั่วโลกในวงกว้างมากขึ้น ธุรกิจนี้มีสัญญาณบวกที่สำคัญ และเราตั้งใจที่จะสร้างความเติบโตนี้ให้กับแฟนๆ โมโตจีพี, ทีมแข่ง, พาร์ทเนอร์ด้วยธุรกิจ และผู้ถือหุ้นของเรา”
ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า “การเทคโอเวอร์” ครั้งนี้ จะเสร็จสิ้นในช่วงปลายปีนี้ โดยอยู่ระหว่างการรออนุมัติ และการอนุมัติจากหน่วยงานทางกฎหมายของฝ่ายจัดการแข่งขัน และการลงทุนจากต่างประเทศ ในขอบเขตอำนาจศาลต่างๆ
การปิดดีลดังกล่าวใช้เวลานานกว่าที่ทั้ง 2 ฝ่ายคาดการณ์ไว้ เนื่องจากทั้ง ดอร์น่า สปอร์ต และ ลิเบอร์ตี้ มีเดีย บรรลุข้อตกลงมาระยะหนึ่งแล้ว โดยแผนแรกคือการประกาศการ “เข้าซื้อกิจการ” ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ก่อนเปิดฤดูกมล 2024 ของ โมโตจีพี ด้วยซ้ำ
อย่างไรก็ตาม การเข้ามาแทรกแซงโดย “คณะกรรมธิการยุโรป” ในด้านการถือสิทธิ์ขาด (การผูกขาด) ตลาดการแข่งขัน (มอเตอร์สปอร์ต) ก็ทำให้บริษัทจากอเมริกันต้องชะลอข้อตกลงนี้ออกไปก่อน
ซึ่งจะยังคงต้องรอดูว่า “คณะกรรมธิการยุโรป” จะตอบสนองอย่างไร เมื่อวิเคราะห์กรณีดังกล่าว ซึ่งก่อนหน้านี้มีความพยายามครอบครองทั้ง โมโตจีพี และ เอฟหวัน โดย CVC เมื่อปี 2006 แต่หน่วยงานต่อต้านการผูกขาดของยุโรป กระโดดเข้ามาขวาง เนื่องจากหน่วยงานของยุโรป รู้สึกว่า “การที่บริษัทหนึ่งเป็นเจ้าของ ซีรีส์ ทั้งสองพร้อมกัน จะไม่เป็นผลดีต่อการแข่งขัน “เชิงธุรกิจ” ภายในสหภาพยุโรป”
โดยเป็นที่เข้าใจว่าทางเลือกอื่นที่นำเสนอโดย Liberty คือทางเลือกที่ให้การรับประกันมากที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
นั่นทำให้ ตำแหน่งสำคัญในการจัดการการแข่งขัน โมโตจีพี เวิลด์ แชมเปี้ยนชิพ ยังคงอยู่ในมือของ คาร์เมโล เอซเปเลต้า และ คาร์ลอส เอซเปเลต้า ลูกชายของเขา (ผู้อำนวยการด้านกีฬา) ให้เป็นผู้บริหารของ โมโตจีพี โดยเชื่อว่าจะยังคงอยู่ในตำแหน่งของพวกช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเงื่อนไขนี้อาจถูกกำหนดขึ้นมาในการเซ็นสัญญา
เชื่อว่าจะได้เห็นเจ้าหน้าที่ของ ลิเบอร์ตี้ มีเดีย ปรากฏตัวในสนามแข่งขัน โมโตจีพี เร็วๆ นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อการแข่งขันจัดขึ้นที่ สหรัฐอเมริกา ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 12-14 เมษายนนี้ ที่ เซอร์กิต ออฟ ดิ อเมริกาส์, ออสติน
ไม่ว่าในกรณีใด ก็มีเหตุผลที่จะคาดหวังว่าบุคลากรของ Liberty จะอยู่ในสนามแข่ง MotoGP เร็วๆ นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่องานต่อไปคือ United States Grand Prix ซึ่งกำหนดไว้ในวันที่ 14 เมษายนที่สนาม Austin Circuit
คาดว่า การก้าวเข้ามาเทคโอเวอร์ของ ลิเบอร์ตี้ มีเดีย จะช่วยยกระดับให้ โมโตจีพี มีมูลค่าสูงขึ้น และมีความทันสมัยมากขึ้น โดยเชื่อว่าจะมีแนวโน้มสร้างซีรีส์ตีแผ่เรื่องราวของ โมโตจีพี ผ่านทาง Netflix คล้ายคลึงกับ Drive To Survice ของ ฟอร์มูล่าวัน ที่ดังเป็นพลุแตกมาแล้ว
นอกจากนี้ ปฏิทินการแข่งขันก็มีจะการเติบโต และขยายความนิยมมากขึ้นในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่ ดอร์น่า ตั้งใจไว้มาระยะหนึ่งแล้ว
วีดีโอที่เกี่ยวข้อง